ประเด็นท้าทาย

ข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 

1.  สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน


      จากการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาคณิตศาสตร์ ในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2564  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  เรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ พบว่า มีผู้เรียนบางคนได้คะแนนสอบจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ และทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ำ สาเหตุหนึ่งมาจากเนื้อหามีความเข้าใจได้ยาก  และโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ถ้านักเรียนขาดทักษะการคิดคำนวณ การตีความในโจทย์แล้ว ทำให้นักเรียนเกิดความสับสนไม่สามารถแก้ปัญหาหรือหาคำตอบได้  เพราะอ่านโจทย์แล้วไม่เข้าใจ  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนจะต้องได้รับการพัฒนา เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเข้าใจ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ   จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนต้องหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหา ด้วยการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยวิธีสอนและเทคนิคการสอนอย่างหลากหลาย  ฝึกทักษะกระบวนการต่าง ๆ โดยให้ผู้เรียนฝึกฝนจากทำแบบฝึกหัดและแบบฝึกทักษะ ซึ่งสามารถช่วยให้กระบวนการเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเครื่องมือที่จะช่วยในการแก้ไขปัญหานี้ได้ ก็คือการใช้แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์


         ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ข้าพเจ้าจึงเลือกประเด็นท้าท้าย การพัฒนาทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” ในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะ เรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ สำหรับนําไปใช้ในการจัดการเรียนการรู้เพื่อแก้ไขผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล  

 การวางแผน 

พ.ศ. 2560)  และหลักสูตรสถานศึกษาของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร”

      2. ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้  แบบฝึกทักษะเรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ  โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 

      3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC) กับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

 การปฏิบัติ 

      4. นำแบบฝึกทักษะไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์ในปัจจุบันและให้นักเรียนทำแบบวัดผลการเรียนรู้ เรื่องอัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ  

      การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน  ดังนี้

       1)  ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)  เป็นการทำให้ผู้เรียนเกิดความสงสัย อยากเรียนรู้ และสืบค้น ข้อมูล อาจเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ

หรืออาจเป็นเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นของผู้เรียน

2)  ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)  ผู้เรียนมีการวางแผนเพื่อรวบรวมข้อมูล ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น การสำรวจ การทดลอง การศึกษา 

และสืบค้นจากเอกสารหรือสื่อออนไลน์ต่าง ๆ

3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)  ผู้เรียนนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ แล้วสรุปเป็นหลักการหรือ ทฤษฎีของตนเอง พร้อมบันทึกผล

และนำเสนอข้อมูล

4)  ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)  ผู้เรียนนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปปรับใช้กับความรู้เดิมและร่วมกัน อภิปราย แสดงความคิดเห็นเพื่อ

ประยุกต์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ

5)  ขั้นประเมินผล (Evaluation) เป็นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ โดยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ         

ที่เหมาะสม

5. บันทึกผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

     6. นำผลการเรียนรู้ของผู้เรียนมาวิเคราะห์ เพื่อแก้ไขและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ต่อไป


   ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษาของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์    

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560).pdf
หลักสูตรแกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์.pdf
เอกสาร หลักสูตร1.pdf
ค21102 พื้นฐาน2.pdf

    จัดทำแบบฝึกทักษะเรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ    

1อัตราส่วนและอัตราส่วนที่เท่ากัน.pdf
อัตราส่วนของจำนวนหลาย ๆ จำนวน.pdf

     PLC กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์    

ผลการพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ


เชิงคุณภาพ


ข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) 

PA1 แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน ครูวิทยฐานะครูชำนาญการ _mon.pdf

ประเด็นท้าทาย  เรื่อง การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ  รายวิชาคณิตศาสตร์ 2 รหัสวิชา ค21102  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร”